ค้นหา

บทความที่ได้รับความนิยม

Translate

เหตุใดจึงเรียกว่ามะพร้าวกะทิและมะพร้าวกะทิเกิดขึ้นได้อย่างไร เรามีคำตอบ


เหตุใดจึงเรียกว่ามะพร้าวกะทิและมะพร้าวกะทิเกิดขึ้นได้อย่างไร เรามีคำตอบ


🥥ถ้าเอ่ยถึงมะพร้าวคุณคงเคยกินมะพร้าวนะครับไม่ว่ามะพร้าวอ่อนมะพร้าวที่มาคั้นกะทิหรืออีกชื่อหนึ่งว่ามะพร้าวที่กินเนื้อที่เขาเรียกว่ามะพร้าวกะทิ มะพร้าวกะทิมันจะอร่อยมากนะครับเนื้อจะนุ่มๆนิ่มๆมันๆเลี่ยนๆ

ส่วนมากเขาจะมะพร้าวกะทิมากินรวมกับพวกน้ำแข็งใสสลิ่มรวมมิตรใส่น้ำหวานนมเนยอะไรก็แล้วแต่นะครับมันอร่อยดี

บางทีก็เอามะพร้าวกะทิช้อนตักใส่จานตัดเป็นชิ้นๆจากเนื้อมะพร้าวอ่อนนุ่มหวานมันแล้วเอาน้ำตาลทรายโรยๆอร่อยอันนี้ก็อร่อยดีนะครับทำง่ายๆแต่รับรองได้ว่ากินแล้วจะติดใจ 

มะพร้าวกะทิเกิดจากลักษณะด้อยตามหลักพันธุศาสตร์ของเมนเดล  จะเป็นอย่างไรเรามาเข้ารายละเอียดของบทความคุณเลยดีกว่านะครับ


ยังมีบางคนที่เข้าใจว่ามะพร้าวกะทิ คือมะพร้าวสำหรับทำน้ำกะทิ มีเนื้อที่คั้นกะทิออกมาได้ แต่ความจริงแล้ว มะพร้าวชนิดนี้ไม่มีน้ำกะทิให้คั้นออกมาได้ มีแต่เนื้อนุ่มๆ ที่หากได้ลิ้มลองแล้วต้องติดใจแน่นอน

“มะพร้าวกะทิ” คือ มะพร้าวที่มีเนื้อแก่อ่อนนุ่ม ฟู มีน้ำเหนียวข้น ตรงข้ามกับมะพร้าวทั่วไปที่เมื่อแก่แล้ว เนื้อจะแข็ง ไม่ฟู

ส่วนมะพร้าวที่ใช้ทำน้ำกะทินั้น จะเรียกว่า “มะพร้าวแกง” เพราะน้ำกะทิที่คั้นออกมาถูกใช้เป็นส่วนประกอบของเมนูแกงมากมาย จึงถูกเรียกชื่อตามการใช้งาน


มะพร้าวกะทิ สามารถเกิดได้จากมะพร้าวทุกสายพันธุ์ ไม่ว่าจะเป็นมะพร้าวแกงหรือมะพร้าวน้ำหอมก็ตาม แต่โอกาสเกิดขึ้นเองนั้นมีน้อยมาก เนื่องจากเป็นลักษณะด้อยตามหลักพันธุศาสตร์ของเมนเดล แต่ละสวนเราอาจพบมะพร้าวกะทิเพียง 1-2 ต้นเท่านั้น

ในเนื้อมะพร้าวจะมีคาร์โบไฮเดตรชนิด Galactomannan (กาแลคโตแมนแนน) อยู่ ซึ่งทำให้เกิดความข้นหนืด แต่สำหรับมะพร้าวทั่วไปสารชนิดนี้จะถูกเอนไซน์ Alpha-galactosidase (อัลฟา-กาแลคโตซิเดส) ทำให้แปรเปลี่ยนชนิดไป เมื่อมะพร้าวแก่ขึ้นเนื้อจึงแข็งจับตัวกันอยู่แยกส่วนกับน้ำ ทำให้น้ำมะพร้าวทั่วไปใสสะอาด ไม่เหนียวข้น

ส่วนมะพร้าวกะทินั้น ไม่มีเอนไซน์ชนิดนี้ ทำให้ Galactomannan (กาแลคโตแมนแนน) ยังคงมีอยู่ในมะพร้าวลูกนั้น แม้ว่ามะพร้าวจะแก่แล้ว เนื้อมะพร้าวก็จะฟูอ่อนนิ่ม ส่วนน้ำนั้นเหนียวข้น


คุณสมบัติของ Galactomannan (กาแลคโตแมนแนน)

Galactomannan มีโมเลกุลขนาดใหญ่กว่าโมเลกุลของน้ำ จึงไม่ละลายน้ำ แต่กระจายตัวอยู่ในน้ำเย็นได้ดี ทำให้น้ำเหนียวหนืด ซึ่งใช้เป็นสารเพิ่มความข้นหนืด (thickening agent) สารเพิ่มความคงตัว (stabilizing agent) สารนี้ทำให้น้ำกับน้ำมันผสมเข้ากันโดยไม่แยกตัว และเป็นสารก่อให้เกิดเจล (gelling agent) ได้


วิธีสังเกตมะพร้าวกะทิ
สังเกตง่ายๆที่การฟังเสียน้ำ หากเขย่ามะพร้าวลูกนั้นแล้วไม่มีเสียงคลอนน้ำ มะพร้าวลูกนั้นก็มีโอกาสเป็นกะทิสูงมาก


เป็นอย่างไรบ้างครับมะพร้าวกะทิเดี๋ยวนี้ก็หากินก็ยากเหมือนกันนะครับเพราะว่ามันไม่ใช่เกิดง่ายๆแต่ก็ยังหากินได้นะครับ

มันก็อร่อยดีนะครับแต่รู้สึกว่าเวลาเราไปซื้อขนมหวานที่ใส่มะพร้าวกะทิมัน บางร้านก็จะให้น้อยเกินไปกินเข้าไปแล้วมันก็ยังไม่ได้รสชาติเต็มที่ต้องกินเป็นลูกๆให้อิ่มไปเลยจบ😂😂

รายการบล็อกของฉัน

 hellomanman  happy-topay  invite-buying
 men-women-apparel diarylovemanman news-the-world
 homemanman alovemanman
 menmen-love
 ghost-in-manman  U.F.O.manman  kidsloveman
foodmanman  flowermanman herbs-in-manman
devilmanman herbs-in-manman manman clip