ค้นหา

บทความที่ได้รับความนิยม

Translate

กันภัยมหิดล(Kan Pai Mahidol)


กันภัยมหิดล การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร:Plantae   หมวด:Magnoliophyta
ชั้น:Magnoliopsida   อันดับ: Fabales
วงศ์: Fabaceae  วงศ์ย่อย:Faboideae  เผ่า:Millettieae
สกุล:Afgekia  ชนิด:A. mahidolae
ชื่อทวินามAfgekia mahidolae  B. L. Burtt & Chermsir.
กันภัยมหิดล หรือ กันภัย เป็นชื่อไม้เถาชนิด Afgekia mahidolae Burtt et Chermsir.ในวงศ์ Leguminosae พบทางจังหวัดกาญจนบุรี ใบเป็นใบประกอบ ช่อหนึ่งมีใบย่อยหลายใบ ด้านล่างของใบมีขนสีน้ำตาล ดอกเป็นช่อตั้ง สีขาวปนม่วง ฝักสั้นป้อมแบน ๆ ตั้งชื่อวิทยาศาสตร์เพื่อเฉลิมพระเกียรติแด่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี

ไม้เถาชนิดนี้ เกษม จันทรประสงค์ ค้นพบครั้งแรกที่ประเทศไทย และสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ พระราชทานนามว่า กันภัยมหิดล ให้เป็นต้น
ไม้สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542ด้วยเหตุว่า เป็นต้นไม้ที่พบในประเทศไทย ปลูกง่าย นามเป็นมงคลและพ้องกับชื่อมหาวิทยาลัย ถึงแม้จะเป็นไม้เถาแต่ก็มีลักษณะสวยงาม สามารถจัดแต่งเป็นทรงพุ่มได้หลายแบบ อายุยืน โดยเมื่อเถาแห้งไปก็สามารถงอกขึ้นใหม่ได้ ซึ่งความเป็นไม้เถาแสดงถึงความเจริญก้าวหน้าและความสามารถปรับตัวให้พัฒนาไปตามสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปได้อย่างดี

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
*เป็นไม้เถา แตกพุ่มหนาแน่น ยาวประมาณ 15 ม. มีขนคล้ายไหมหนาแน่นเกือบทุกส่วน หูใบออกเป็นคู่ รูปเคียว เบี้ยวเล็กน้อย ยาวประมาณ 1.5 ซม. ใบประกอบแกนกลางยาว 8-18 ซม. ก้านใบยาว 2.5 ซม. หู

*ใบย่อยรูปเส้นด้าย ยาว 5 มม. ใบย่อยมี 4-6 คู่ เรียงเกือบตรงข้าม รูปไข่หรือขอบขนาน ยาว 1.5-7.5 ซม. ปลายใบกลม มีติ่งเล็กๆ โคนใบกลมหรือรูปหัวใจตื้นๆ เส้นแขนงใบข้างละ 5-8 เส้น ก้านใบย่อยยาว 2-4 มม. ช่อดอกแบบช่อกระจะ ออกตามซอกใบ ยาว 10-15 ซม. ใบประดับรูปใบหอก ยาว 1.5-3 ซม. ก้าน

*ดอกยาว 0.7-1 ซม. กลีบเลี้ยงรูประฆัง สีขาวอมม่วง หลอดกลีบยาว 5-7 มม. รูปปากเปิด กลีบบน 2 กลีบ รูปสามเหลี่ยม ยาว 3-6 มม. กลีบล่าง 3 กลีบ ยาวไม่เท่ากัน รูปแถบหรือรูปลิ่มแคบ ยาว 0.5-1 ซม. กลีบดอกสีม่วงอ่อน กลีบกลางรูปรี ด้านในมีสีเข้ม พับงอกลับ ยาวประมาณ 2 ซม. ปลายเป็นติ่งแหลม โคนกลีบรูปหัวใจ เป็นสันนูนทั้งสองด้าน เส้นกลางกลีบเป็นร่อง มีสีเหลืองแต้มใกล้โคน ที่โคนมีเดือยรูปสามเหลี่ยม 1 คู่ ยาว 3 มม. กลีบปีกรูปขอบขนาน มีสีเข้ม ยาว 1.5 ซม. กลีบคู่ล่างยาวเท่าๆ กลีบปีก เชื่อมติดกันรูปคุ่ม ฝักรูปรีหรือขอบขนาน ยาว 7-9 ซม. หนาประมาณ 3 ซม. เมล็ดมี 1-2 เมล็ด สีน้ำตาล เกือบกลม...

การค้นพบพบครั้งแรกเมื่อวันที่ 14 กันยายน พ . ศ .2510 โดยนาย เกษม จันทรประสงค์ ซึ่งขณะนั้นเป็นข้าราชการกองพืชพรรณ กรมวิชาการเกษตร ( ปัจจุบันเป็นนายกสมาคมไม้ประดับแห่งประเทศไทย) ได้เล่าเรื่องการพบพืชชนิดนี้ว่าท่านนั่งรถไฟไปลงที่สถานีวังโพ และเดินทางขึ้นภูเขาเตี้ยๆ หลังสถานีทางทิศตะวันออก ซึ่งเป็นฝั่งตรงข้ามกับแม่น้ำแควน้อย เมื่อถึงเวลาเที่ยง ท่านได้หยุดพักรับประทานอาหารที่ใต้ต้นไม้ ได้พบดอกไม้ชนิดหนึ่งร่วงอยู่ที่พื้น ท่านรู้สึกคุ้นกับลักษณะดอก เพราะคล้ายถั่วแปบช้างแต่คนละสี เมื่อมองขึ้นไปและเก็บลงมาเพื่อทำตัวอย่างแห้งอีก 2 เดือนถัดมา คือวันที่ 15 พฤศจิกายน ปีเดียวกัน ท่านได้นำผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. จิรายุพิน จันทรประสงค์ ( เจิมศิริวัฒน์ ) เดินทางกลับไปที่เดิมเพื่อเก็บฝักที่เริ่มแก่ ให้ได้ตัวอย่างที่สมบูรณ์และขุดต้นกลับมาปลูกที่กรมวิชาการเกษตร สำหรับระบุ (identify) ว่าต้นไม้นี้จะเป็นต้นไม้ชื่ออะไร เมื่อต้นไม้ต้นนี้ออกดอกที่กรุงเทพฯ ในวันที่ 9 พฤศจิกายน 2511 จึงได้เก็บตัวอย่าง ซึ่งเป็นตัวอย่างต้นแบบ พร้อมทั้งทำคำบรรยายเป็นภาษาละตินและวาดภาพส่งไปให้ Mr. B. L Burtt พิสูจน์ชื่อที่สหราชอาณาจักร พร้อมทั้งขอพระราชทานชื่อเพื่อเป็นเกียรติกับพระชนนีศรีสังวาลย์ ( พระยศในขณะนั้น ) โดยเสนอคำว่า ศรีสังวาลย์ หรือมหิดล Mr. Burtt ได้แนะนำว่าให้ใช้มหิดล ซึ่งเขียนเป็นภาษาละตินว่า mahidolae...
ทั้งนี้ในขณะนั้นถั่วแปบช้าง ( Afgekia sericea Craib) ซึ่งเป็นพืชที่มีลักษณะคล้ายกันมากและอยู่ในสกุล (genus) เดียวกัน คือ สกุลแอฟกีเกีย ( Afgekia ) เป็นพืชชนิดเดียวในสกุล ด้วยลักษณะที่แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดหลายประการ ผศ . จิรายุพิน จึงแน่ใจว่าพืชต้นนี้เป็นพืชต่างชนิดแน่นอน และจะเป็นพืชชนิดที่สองในสกุลนี้ (ปัจจุบันค้นพบอีกชนิดหนึ่งคือ Afgekia filipes (Dunn) R.Geesink ซึ่งมีดอกสีเหลือง กระจายพันธุ์ทางตอนใต้ของจีนและทางเหนือของไทย)
กันภัยมหิดลไม้สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยมหิดล
เมื่อผลงานการค้นพบ และตั้งชื่อพืชชนิดนี้ ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารของสวนพฤกษศาสตร์เอดินเบอเรอ ชื่อ Notes from the Botanic Garden Edinburgh Vol.31 No.1 ในเดือนกรกฎาคม พ . ศ . 2514 จึงได้ถือว่าพืชชนิดนี้มีชื่อเป็นทางการตามกฎเกณฑ์ทางพฤกษศาสตร์ ชื่อที่ได้รับคือ Afgekia mahidolae B. L. Burtt & Chermsir. แต่ไม่มีชื่อไทย ส่วนถั่วแปบช้างนั้นมีชื่ออื่นๆ อีก เช่น กันภัย ศาสตราจารย์เต็ม สมิตินันทน์ ผู้เชี่ยวชาญทางพฤกษศาสตร์กรมป่าไม้ จึงได้เสนอว่าควรเรียกพืชต้นนี้ว่า กันภัย หรือ กันภัยมหิดล ท่านกล่าวว่าในเรื่องขุนช้างขุนแผนตอนที่ย่างกุมารทองนั้น ได้ใช้เถากันภัยมัดกุมารทองไว้ และด้วยเหตุที่เรื่องขุนช้างขุนแผนเป็นเรื่องที่เกิดในแถบจังหวัดกาญจนบุรีและสุพรรณบุรี เถากันภัยดังกล่าว จึงน่าจะเป็นพืชชนิดเดียวกับพืชที่เพิ่งค้นพบนี้

สำหรับชื่อพฤกษศาสตร์ Afgekia mahidolae นั้น มีการแก้ไขให้ถูกต้องตามไวยากรณ์ภาษาละติน โดยเติม -i- หลัง -l- เป็นดังนี้ Afgekia mahidol i ae ตาม International Code of Botanical Nomenclature ฉบับแก้ไขครั้งล่าสุด ซึ่งเป็นผลจากการชำระกฎการตั้งชื่อพฤกษศาสตร์เมื่อ ปี พ.ศ. 2548 ณ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย (เรียกกฎเล่มนี้ในชื่อย่อว่า Vienna Code ตีพิมพ์เมื่อ ปี พ.ศ. 2549) โดยคำแนะนำข้อ 60 C .1.b ระบุว่าชื่อพฤกษศาสตร์ที่ตั้งเพื่อเป็นเกียรติแด่บุคคล ถ้าชื่อบุคคลลงท้ายด้วยตัวสะกด ให้เติม -i- และรูปคำระบุเพศต่อท้าย เช่น ชื่อบุคคลชาย Winit เป็น winitii ชื่อบุคคลหญิง Thaithong เป็น thaithongiae เป็นต้น....
เรียบเรียงข้อมูลเพิ่มเติมโดยmanman 

รายการบล็อกของฉัน

 hellomanman  happy-topay  invite-buying
 men-women-apparel diarylovemanman news-the-world
 homemanman alovemanman
 menmen-love
 ghost-in-manman  U.F.O.manman  kidsloveman
foodmanman  flowermanman herbs-in-manman
devilmanman herbs-in-manman manman clip