ค้นหา

บทความที่ได้รับความนิยม

Translate

ดอกบัวผุด(buaphut)

วันนี้ขอเก็บเรื่องราวของ "ดอกบัวผุด" มาฝากกัน โดยเป็นเรื่องของดอกไม้ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย หลายคนคงจะเคยได้ยิน และรู้จักดอกไม้ชนิดนี้แล้ว ส่วนใครที่ยังไม่รู้ลองทายดูสิครับ..ว่า คือดอกไม้อะไร??? ดอกไม้ที่ว่า คือ "ดอกบัวผุด"


ถึงแม้ "ดอกบัวผุด" จะเป็นดอกไม้ที่มีกลิ่นเหม็น แต่ก็ถือว่ามีประโยชน์มากทีเดียว อย่างไรแล้วเสีย น่าจะให้ดอกไม้หายากอย่าง "ดอกบัวผุด" อยู่คู่ผืนป่าที่อุดมสมบูรณ์ มากกว่าที่จะนำออกมาขาย หรือเก็บออกมาเพียงเพราะความแปลก ที่อยากจะเก็บไว้เป็นที่ระลึก

ถึงแม้ว่าดอกบัวผุดจะมีกลิ่นเหม็นมากก็ตาม แต่เป็นพืชสมุนไพรที่หายากมากและมีคุณค่าสูง คือ นอกจากจะนิยมนำมาใช้ปรุงเป็นยาบำรุงสตรีหลังคลอด ให้มีพลานามัยสมบูรณ์แข็งแรงมีผิวพรรณเปล่งปลั่งแล้วยังเป็นยาบำรุงสำหรับ บุรุษเพศอีกด้วย

ลักษณะของดอกบัวผุด เมื่อยังตูมอยู่จะคล้ายกับหม้อหรือกระถางต้นไม้ขนาดใหญ่มีกลีบหนา จะมีเส้นผ่าศูนย์กลางของดอก 70-80 เซนติเมตร ที่โคนของดอกจะมีกลีบนำสีน้ำตาลอมเหลืองเรียงสลับซับซ้อนกันอยู่มาก ภายในดอกจะมีแผ่นแบนคล้ายจาน ด้านบนมีปุ่มคล้ายหนามแหลมจานนี้จะซ้อนเกสรตัวผู้และรังไข่ไว้ด้านล่าง
         
สำหรับบัวผุดเป็นกาฝากชนิดหนึ่ง ที่อาศัยน้ำเลี้ยงจากรากของพืชชนิดอื่น จะโผล่เฉพาะดอกซึ่งเป็นดอกเดียวขึ้นจากพื้นดินให้เห็นระหว่างฤดูฝนหรือในระยะที่อากาศและพื้นที่ยังมีความชุ่มชื้นสูง คือ ระหว่างพฤษภาคมถึงเดือนธันวาคม ปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับลำต้นของบัวผุดมีลักษณะเช่นไร มีการเกาะหรือเชื่อมติดกับพืชที่มันอาศัยอยู่อย่างไร
     
ดอกบัวผุดเมื่อยังสดอยู่จะมีน้ำหนักประมาณ 10 กิโลกรัม กลีบดอกมีความหนาตั้งแต่ 0.5-1 เซนติเมตร นับว่าเป็นดอกไม้ที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่ค้นพบในประเทศไทย ในต่างประเทศ เช่น มาเลเซีย เคยมีรายงานว่า พืชสกุลเดียวกันนี้มีเส้นผ่าศูนย์กลางของดอกมากกว่า 100 เซนติเมตร ก็มี
จากผลสำรวจและวิจัย ของฝ่ายพฤษศาสตร์ กองบำรุง กรมป่าไม้ พบว่า บัวผุดพันธุ์ใหม่ ที่พบในประเทศไทยนี้ เป็นพืชกาฝากที่เกาะกินเฉพาะน้ำเลี้ยงจากรากของไม้เถาของว่านป่า "ย่านไก่ต้ม" เพียงชนิดเดียวเท่านั้น ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ในบางครั้งมีผู้เข้าใจผิดว่าเป็นดอกของย่านไก่ต้มซึ่งความจริงแล้วเถาย่านไก่ต้มเป็นพันธุ์ไม้ในวงศ์องุ่น (Vitidaceae) ที่มีเถาขนาดใหญ่พบขึ้นในป่าดิบชื้นทางภาคใต้ที่มีฝนตกอย่างสม่ำเสมอเกือบตลอดทั้งปี พื้นดินเป็นดินร่วนหรือดินร่วนปนทรายตามหุบเขาหรือบริเวณริมลำธาร ดอกย่านไก่ต้มมีสีเขียวอมเหลืองขนาดโตประมาณ 2 เท่าของหัวไม้ขีดไฟเท่านั้น
      
จากการศึกษา พบว่า พันธุ์ไม้ตระกูลบัวผุด (Raffiesia) มีประมาณ 13-14 พันธุ์เท่านั้น บัวผุดที่พบในประเทศไทยได้รับการตั้งชื่อเป็นพันธุ์ของโลกเมื่อ พ.ศ.2527 โดย Dr.M.Meijer จากมหาวิทยาลัย Kentucky สหรัฐอเมริกา ตั้งชื่อพฤกษศาสตร์สากลเพื่อเป็นเกียรติแก่ Dr.A.F.G.Kerr นายแพทย์ชาวไอริช ผู้สำรวจพันธุ์ไม้ชนิดนี้เป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2472
       
ในปัจจุบันดอกบัวผุดนับว่าจะหาดูได้ยากยิ่ง ทั้งนี้เพราะเหตุว่า ป่าไม้ถูกทำลายลงไปอย่างมากทำให้สภาพนิเวศน์ของป่าเปลี่ยนไปมาก จะพบดอกบัวผุดบ้างเฉพาะตามอุทยานแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเท่านั้น เช่น อุทยานแห่งชาติเขาสก จังหวัดสุราษฎร์ธานี และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองนาคา จังหวัดระยอง เป็นต้น...

รายการบล็อกของฉัน

 hellomanman  happy-topay  invite-buying
 men-women-apparel diarylovemanman news-the-world
 homemanman alovemanman
 menmen-love
 ghost-in-manman  U.F.O.manman  kidsloveman
foodmanman  flowermanman herbs-in-manman
devilmanman herbs-in-manman manman clip