ดอกไม้แปลกๆดอกบุกยักษ์มีดอกเป็นแท่งลักษณะคล้ายกับองคชาตดอก มีกลิ่นเหม็นคล้ายคาวปลา เนื้อสัตว์เน่า ซากศพ


ดอกไม้แปลกๆดอกบุกยักษ์มีดอกเป็นแท่งลักษณะคล้ายกับองคชาตดอก มีกลิ่นเหม็นคล้ายคาวปลา เนื้อสัตว์เน่า ซากศพ 

เราต้องมาทำความเข้าใจเรื่องดอกไม้กันก่อนนะครับส่วนมากดอกไม้ก็จะต้องมีกลิ่นหอมมีสีสันสวยงามเพื่อดึงดูดแมลงให้มาผสมเกสรกันใช่ไหมครับ


แต่ถ้าเรามาเจอดอกไม้ที่ชื่อว่าดอกบุกยักษ์มันตรงกันข้ามกับดอกไม้สวยๆกลิ่นหอมๆกันเลยนะครับ เพราะว่าดอกบุกยักษ์มันมีกลิ่นเหม็นดอกบุกยักษ์กลิ่นเหมือนซากศพ  แค่ได้ยินชื่อได้ได้รับรู้ว่ากลิ่นของดอกบุกยักษ์ชนิดนี้เหม็นเน่าก็น่าจะสะอิดสะเอียนกันแล้วนะครับเพราะว่ามันเหม็นเหมือนซากศพเนื้อเน่านั้นเอง

เรามาดูรายละเอียดกันเลยดีกว่านะครับ

สปีชีส์ของพืช

บุกยักษ์, ดอกบุกยักษ์ หรือ ดอกซากศพ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Amorphophallus titanum; อังกฤษ: titan arum) เป็นพืชในสกุลบุกที่มีดอกเป็นแท่งลักษณะคล้ายกับองคชาต ดอกสูงได้เกินกว่า 3 เมตร และบานเป็นเวลา 72 ชั่วโมง มีกลิ่นเหม็นคล้ายคาวปลา เนื้อสัตว์เน่า หรือซากศพ โดยทั่วไปมักใบงอกออกภายหลังจากดอกโรยแล้วและมีเพียงใบเดียวตลอดปี ใบมีความสูงได้ถึง 5 เมตร บุกยักษ์ถูกค้นพบครั้งแรกเมื่อ ค.ศ.1878 ในบริเวณหมู่เกาะสุมาตรา

การออกดอก
ในแหล่งเพาะปลูก โดยทั่วไปแล้วบุกยักษ์ต้องใช้เวลา 5 ถึง 10 ปีในการเจริญเติบโตก่อนที่จะออกดอกครั้งแรก หลังจากการออกดอกครั้งแรกของพืชแต่ละต้น ความถี่ในการออกดอกครั้งถัดไปอาจแตกต่างกันมาก ซึ่งเป็นไปตามสภาวะแวดล้อมของการเพาะปลูก พืชบางต้นอาจไม่ออกดอกอีกเป็นเวลานานถึง 7–10 ปี ในขณะที่บางต้นอาจออกดอกได้ทุกสองหรือสามปี

ที่สวนพฤกษศาสตร์บ็อน มีการสังเกตการณ์ภายใต้สภาวะการเพาะปลูกที่เหมาะสมซึ่งทำให้พืชผลิดอกสลับกันทุก ๆ สองปี ที่สวนพฤกษศาสตร์ในโคเปนเฮเกนสามารถบังคับให้ออกดอกเกือบทุกสองปีได้ (ช่วงปี 2014 ถึง 2020 และอาจจะออกดอกในปี 2022) มีการบันทึกถึงการออกดอกแบบหัวปีท้ายปีอย่างน่าอัศจรรย์ (ออกดอกสองครั้งภายในหนึ่งปี) และยังออกใบในเวลาเดียวกันกับช่อดอก นอกจากนี้ที่เมืองบ็อน ประเทศเยอรมนี บางครั้งยังพบว่าเหง้าที่มีน้ำหนักถึง 117 กิโลกรัม สามารถออกดอกพร้อมกันถึง 3 ดอก ในเดือนพฤษภาคม ปี 2020 สวนพฤกษศาสตร์ชิคาโกมีดอกแฝดสามบานในชื่อ "ราชินีกำมะหยี่" แต่การชมถูกปิดไม่ให้สาธารณชนเข้าชมเนื่องจากโควิด-19

โดยทั่วไปแล้วกาบดอก (spathe) เริ่มเปิดออกในช่วงบ่ายถึงเย็น และตลอดทั้งคืน ในช่วงเวลานี้ดอกตัวเมียจะเปิดรับการผสมเกสร โดยทั่วไปกาบดอกจะเริ่มโรยตัวภายใน 12 ชั่วโมง แต่บางครั้งอาจยังคงเปิดอยู่เป็นเวลานานกว่า 24 จนถึง 48 ชั่วโมง เมื่อกาบดอกโรย ดอกตัวเมียจะหมดความสามารถในการผสมเกสร

การผสมเกสรภายดอกของต้นเดียวกันเคยถูกมองว่าเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ แต่ในปี 1992 นักพฤกษศาสตร์ในเมืองบอนน์ได้ประสบความสำเร็จในการผสมเกสรดอกไม้ด้วยมือจากดอกตัวผู้ที่บดละเอียด ส่งผลให้มีผลและเมล็ดนับร้อย ซึ่งสามารถผลิตออกจำหน่ายเป็นต้นกล้าจำนวนมาก นอกจากนี้ในปี 2011 ที่สหรัฐ บุกยักษ์ที่วิทยาลัย Gustavus Adolphus ในมินนิโซตา ยังผสมเกสรด้วยตัวมันเองโดยไม่คาดคิด และผลิตเมล็ดพันธุ์จำนวนมากเช่นกัน


มุมมองเข้าไปในกาบดอกของบุกยักษ์ จะเห็นดอกที่เป็นแบบดอกรวม คือที่ไม่มีกลีบดอก บนฐานของฝักดอก ที่สวนพฤกษศาสตร์ มหาวิทยาลัยบ็อน วันที่ 28 มีนาคม 1997
มุมมองเข้าไปในกาบดอกของบุกยักษ์ จะเห็นดอกที่เป็นแบบดอกรวม คือที่ไม่มีกลีบดอก บนฐานของฝักดอก ที่สวนพฤกษศาสตร์ มหาวิทยาลัยบ็อน วันที่ 28 มีนาคม 1997
 

ผลของบุกยักษ์ ที่สวนพฤกษศาสตร์ มหาวิทยาลัยบ็อน กันยายน 2009
ผลของบุกยักษ์ ที่สวนพฤกษศาสตร์ มหาวิทยาลัยบ็อน กันยายน 2009
 

ดอกตัวผู้ของบุกยักษ์ (บน, สีเหลือง) และดอกตัวเมีย (ล่าง, สีม่วง) ทั้งหมดอยู่ที่ฐานของฝักดอก (spadix) ที่สวนพฤกษศาสตร์ มหาวิทยาลัยบ็อน ภาพเมื่อเดือนมีนาคม 1987
ดอกตัวผู้ของบุกยักษ์ (บน, สีเหลือง) และดอกตัวเมีย (ล่าง, สีม่วง) ทั้งหมดอยู่ที่ฐานของฝักดอก (spadix) ที่สวนพฤกษศาสตร์ มหาวิทยาลัยบ็อน ภาพเมื่อเดือนมีนาคม 1987
 

ใบอ่อนของต้นบุกยักษ์ ที่สวนพฤกษศาสตร์ มหาวิทยาลัยบ็อน ภาพเมื่อเดือนกรกฏาคม 2009
ใบอ่อนของต้นบุกยักษ์ ที่สวนพฤกษศาสตร์ มหาวิทยาลัยบ็อน ภาพเมื่อเดือนกรกฏาคม 2009

 
ใบแก่และโรยแล้วของต้นบุกยักษ์ ในถิ่นอาศัยดั้งเดิมที่เกาะสุมาตรา เดือนกุมภาพันธ์ 1984
ใบแก่และโรยแล้วของต้นบุกยักษ์ ในถิ่นอาศัยดั้งเดิมที่เกาะสุมาตรา เดือนกุมภาพันธ์ 1984