Higanbana : ดอกไม้ลึกลับที่มีชื่อกว่า 1090 ชื่อ
ปกติแล้ว คนญี่ปุ่นมักประดับดอกไม้ไว้ที่หิ้งใกล้ประตูทางเข้าบ้าน หรือห้องรับแขกกันเป็นประจำ ยิ่งคนที่เรียน Ikebana แล้ว ยิ่งใช้ดอกไม้นานาประเภทมาประดับประดา ว่ากันว่าสามารถใช้ดอกอะไรก็ได้ แม้เพียงดอกเดียว ขอให้ประดับให้ได้ใกล้เคียงธรรมชาติของดอกไม้นั้นๆ แต่มีดอกไม้ประเภทเดียวที่มีบัญญัติห้ามนำมาใช้กับ Ikebana
ปกติแล้ว คนญี่ปุ่นมักประดับดอกไม้ไว้ที่หิ้งใกล้ประตูทางเข้าบ้าน หรือห้องรับแขกกันเป็นประจำ ยิ่งคนที่เรียน Ikebana แล้ว ยิ่งใช้ดอกไม้นานาประเภทมาประดับประดา ว่ากันว่าสามารถใช้ดอกอะไรก็ได้ แม้เพียงดอกเดียว ขอให้ประดับให้ได้ใกล้เคียงธรรมชาติของดอกไม้นั้นๆ แต่มีดอกไม้ประเภทเดียวที่มีบัญญัติห้ามนำมาใช้กับ Ikebana
Higanbana หรือ Spider Lily คือดอกไม้ที่ว่า ทั้งๆที่หน้าตาสีสรรมันออกสวยงามดังที่เห็นในภาพ ว่ากันว่าในอดีต ผู้คนมักนำหัวของมันไปปลูกไว้ตามคันนาหรือใกล้สุสาน ทั้งนี้เพราะในหัวของมันมีพิษสามารถป้องกันหนูหรือสัตว์ร้ายไม่ให้เข้าไปกัดกินข้าวในนาหรือศพที่ถูกฝังไว้ และนั่นคือที่มาของชื่อนานาประการเช่น "ดอกไม้ผี" (Yurei-bana) "ดอกไม้คนตาย" (Shibito-bana) อันไม่เป็นมงคล ไปจนถึงชื่อตามพุทธศาสนาเช่น "ปรมิตตา" (Manjushage) และ "ฮิงังบะนะ" (Higanbana) ซึ่งชื่อหลังสุดนี่เป็นชื่อที่ผู้คนทั่วไปใช้ร่วมกันในปัจจุบัน
"ฮิงัง" (Higan) หมายถึงประเพณีบังสุกุลบรรพบุรุษของคนญี่ปุ่นกระทำกัน 2 ครั้งในหนึ่งปี ครั้งที่สองคือราวกลางถึงปลายเดือนกันยายน แทบทุกปีมักจะตรงกับช่วงที่ดอกฮิงังบะนะโผล่ยอดออกมาบนดิน พร้อมคลี่กลีบบานอย่างรวดเร็วก่อนที่จะโรยไปพร้อมๆกับการสิ้นสุดของเทศกาลบังสุกุลพอดิบพอดี
ที่สวนพฤกษศาสตร์ใกล้บ้าน ก็ไปพบกับพงดอกฮิงังบะนะทั้งแดง ขาว ส้ม และเหลืองอ่อนเริ่มบานอยู่ ซึ่งดูเหมือนว่าจะเร็วกว่าที่อื่นๆมาก หลายปีมานี้ ฮิงังบะนะกลายเป็นดอกไม้ที่ช่างภาพโปรดปรานเพราะทั้งรูปร่างหน้าตาและสีสรรที่แปลกตา สถานที่ๆมีดอกฮิงังบะนะบานงดงามจึงคึกคักเป็นพิเศษช่วงกลางถึงปลายเดือน เช่นที่ Asuka-mura ในจังหวัดนารา
ดอกสีแดงคือสีที่พบบ่อย โดยเฉพาะตามริมคันนา ความแปลกของมันคือเวลาดอกบานจะไม่มีใบแม้แต่ใบเดียว เมื่อดอกโรยไปแล้ว ใบจึงจะขึ้นและจะอยู่ไปจนถึงฤดุใบไม้ผลิก่อนที่จะโรยไปในช่วงที่ต้นไม้อื่นๆผลิใบ
สีเหลืองอ่อนก็ดูงาม
เกสรยาวๆคล้านขาแมงมุม จึงเป็นที่มาของชื่อ Spider Lily ในภาษาอังกฤษ