ชื่อที่เรียก ชมพูพันธุ์ทิพย์ |
ชื่ออื่นๆชมพูอินเดีย ธรรมบูชา ตาเบบูยาพันธ์ทิพ
ต้นกำเนิดของชมพูพันธุ์ทิพย์ อยู่ในเขตร้อนของทวีปอเมริกาใต้ ต่อมาได้ถูกนำไปปลูกในเขตร้อนทวีปต่างๆ อย่างแพร่หลายรวมทั้งประเทศไทย
สำหรับประเทศไทยมีบันทึกเป็นหลักฐานว่า เป็นผู้นำเข้ามาในประเทศครั้งแรกคือ
กรมหมื่นนครสวรรค์ศักดิ์พินิต และ ม.ร.ว.พันธุ์ทิพย์ บริพัตร จึงตั้งชื่อตามสีดอก และ เป็นเกียรติแก่ผู้นำเข้าว่า ชมพูพันธุ์ทิพย์ ชื่อเดิมคือ ตาเบบูย่า มีชื่ออื่นๆ คือ แตรชมพู ธรรมบูชา ชื่อในภาษาอังกฤษคือ Pink Trumpet Tree ตามลักษณ์ของดอกนั่นเองหมวดหมู่ทรัพยากรพืช
กรมหมื่นนครสวรรค์ศักดิ์พินิต และ ม.ร.ว.พันธุ์ทิพย์ บริพัตร จึงตั้งชื่อตามสีดอก และ เป็นเกียรติแก่ผู้นำเข้าว่า ชมพูพันธุ์ทิพย์ ชื่อเดิมคือ ตาเบบูย่า มีชื่ออื่นๆ คือ แตรชมพู ธรรมบูชา ชื่อในภาษาอังกฤษคือ Pink Trumpet Tree ตามลักษณ์ของดอกนั่นเองหมวดหมู่ทรัพยากรพืช
ลักษณะลำต้น :เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางสูง 8-18 เมตร แตกกิงก้านมาก ทำให้พุ่มหนาแน่น ผลัดใบผิวลำต้นแตกเป็นสะเก็ดหนา ขรุขระ สีน้ำตาลดำ
ใบ : ใบเป็นประกอบแบบนิ้วมือ มีใบแหลม ผิวเรียบเกลี้ยง ใบสีเขียว ออกตรงกันข้าม
ดอก : ดอกออกเป็นช่อที่ปลายกิ่งเป็นกระจุกใหญ่ ช่อหนึ่งมี 5-8 ดอก สีม่วงอมชมพูหรือชมพูอ่อน กลีบดอกติดกันเป็นหลอดรูปแตร
ผล : ผลเป็นฝักกลมยาว 15 ซม. เมื่อแก่จะแตกด้านเดียว ผลอ่อนสีเขียว เมื่อแก่สีน้ำตาลดำ.
เมล็ด : เมล็ดกลมแบน มีปีก ปลิวตามลมได้ไกล
ประโยชน์
ใบต้มแก้เจ็บท้องหรือท้องเสียตำให้ละเอียดใส่แผล ลำต้น ใช้ทำฟืน และเยื่อใช้ทำกระดาษได้
ไม้ประดับชื่อสามัญ
Pink Trumpet shrub, Pink Trumpet Tree
ชื่อวิทยาศาสตร์
Tabebuia pentaphylla Hemsl.
Tabebuia pentaphylla Hemsl.
ชื่อวงศ์
BIGNONIACEAE.
BIGNONIACEAE.